อ่าน 2584 ครั้ง
โรคเบาหวาน
content/38.jpg
 

          โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงมากกว่าปกติ ปริมาณกลูโคสในเลือดมาจากอาหารที่เรากินเข้าไปโดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลซึ่งจะถูกย่อยให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็กที่สุดที่เรียกว่า “กลูโคส” กลูโคสจากอาหารที่ย่อยแล้วสามารถซึมผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดและส่งต่อไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ปริมาณกลูโคสในกระแสเลือดจะถูกควบคุมให้อยู่ในระดับพอดีโดยฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อน

 

          เมื่อเรากินอาหารเข้าไปโดยเฉพาะแป้งและน้ำตาล ร่างกายจะได้รับกลูโคสเข้าไปตามกระแสเลือด ตับอ่อนก็จะผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมให้เหลือกลูโคสอยู่ในกระแสเลือดในระดับปกติ โดยปกติคนเรามีน้ำตาลในกระแสเลือดอยู่ที่ประมาณ 80 – 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถ้าต่ำกว่า 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาจทำให้เกิดภาวะหน้ามืด เป็นลมได้ แต่ถ้าสูงเกินกว่าระดับ 140 – 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะถ้าหากตับอ่อนทำงานไม่ปกติและผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ควบคุมระดับกลูโคสในเลือดและการรับเข้าเซลล์ไม่ได้อาจทำให้มีน้ำตาลกลูโคสในเลือดมากเกินไปและเกิดเป็นภาวะโรคเบาหวาน หรือ เรียกว่า “ภาวะต้านอินซูลิน” โรคเบาหวานที่พบเป็นส่วนมากมีด้วยกันสองประเภทคือ

 

          โรคเบาหวานประเภทที่ 1 เป็นเบาหวานแบบที่ต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างสิ้นเชิง เบาหวานประเภทนี้เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่าสี่สิบปี หรือ แม้แต่เด็กก็ป่วยเป็นเบาหวานประเภทที่หนึ่งได้เนื่องจากได้รับกรรมพันธุ์มาจากพ่อหรือแม่ที่ป่วยเป็นเบาหวานประเภทที่ 1 เบาหวานประเภทนี้เกิดขึ้นน้อยกว่าเบาหวานประเภทที่ 2 แต่มีความรุนแรงมากกว่าเนื่องจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นร่างกายจึงขาดอินซูลินที่จะไปควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดและไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าไปในเนื้อเยื่อเพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานได้ ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 นั้นในตอนนี้ยังไม่พบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นจึงต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปตลอดชีวิต

          เบาหวานประเภทที่ 1 อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น เกิดจากตับอ่อนทำงานผิดปกติเนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ได้รับสืบทอดมาทางกรรมพันธุ์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การได้รับสารเคมีหรือสารพิษจากภายนอกเช่นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาบางชนิด เช่น พาราเซตามอล ซึ่งจะมีความเป็นพิษต่อตับโดยตรงหากรับประทานมากเกินไป การติดเชื้อไวรัสเช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ A, B และ C ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตอินซูลินของตับอ่อน โรคที่เกิดกับตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ หรือ มะเร็งที่ตับอ่อนเป็นต้น

          อาการที่พบในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 เช่น คอแห้งบ่อย ๆ กระหายน้ำ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย พบน้ำตาลในปัสสาวะ ในกรณีที่ขาดอินซูลินโดยสิ้นเชิงจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและจำนวนมากอาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ความดันโลหิตลดลง มีการสลายไขมันเพื่อมาใช้ทดแทนพลังงานที่ขาดหายไป ทำให้เกิดสารพิษที่เรียกว่า คีโทน ในเลือดและปัสสาวะ ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ ในกรณีที่อาการรุนแรงจะเกิดกรดคั่งในเลือด รู้สึกตัวน้อยลงจนหมดสติซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทน หากพบอาการใด ๆ ดังต่อไปนี้ให้ปรึกษาแพทย์ด่วน

 

          โรคเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นเบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน เกิดขึ้นได้กับผู้ใหญ่เป็นส่วนมาก มักเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และคนอ้วนซึ่งบางครั้งพบเกิดขึ้นกับเด็กได้เช่นกันหากว่าเด็กอ้วนและมีน้ำหนักเกิน เนื่องจากโรคเบาหวานชนิดที่สองนี้สัมพันธ์โดยตรงกับพฤติกรรมการกินของเราโดยตรง เช่น การบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป โดยอวัยวะที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวานประเภทที่สอง ได้แก่ ตับ และตับอ่อน นอกจากนี้ยังพบว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เช่นกัน ผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวานก็มีแนวโน้มที่จะเป็นเบาหวานชนิดนี้ได้เหมือนกัน

          ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ ตับอ่อนยังสามารถผลิตอินซูลินได้บ้าง หรือผลิตเป็นปกติแต่ประสิทธิภาพของอินซูลินที่ผลิตนั้นลดลง ส่วนอาการของเบาหวานประเภทที่ 2 นั้น มีตั้งแต่ไม่แสดงอาการเลยไปจนถึงอาการรุนแรง แต่จะไม่เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทนเหมือนในเบาหวานประเภทที่ 1

          การดูแลรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 นี้ มักจะใช้การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนักเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเรื่องให้ปกติ หรือใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลร่วมด้วย ถ้าหากไม่ดูแลตัวเองและปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ เช่น เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ร่างกายจะพยายามขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยและเกิดภาวะขาดน้ำ ไตทำงานลดลงทำให้น้ำตาลสูงขึ้นอีกเนื่องจากไตทำงานไม่ได้ หากมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจหมดสติและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เรียกว่า โคม่าจากน้ำตาลในเลือดสูงมาก

 

          ดังนั้นไม่ว่าจะป่วยเป็นเบาหวานประเภทใดก็ควรจะต้องปรึกษาแพทย์และดูแลควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเพราะนอกจากอาการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานยังมีโรคแทรกซ้อนอีกมากมาย ดังนั้นควรดูแลตัวเองให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ 

 

ที่มา: 1 อาหารต้านเบาหวานแนวธรรมชาติบำบัด โดย นิดดา หงส์วิวัฒน์

         2 ความรู้เรื่องเบาหวาน ฉบับสมบูรณ์ โดย ศ. น.พ. เทพ หิมะทองคำ และทีมบรรณาธิการ

yes เรียบเรียงโดย : รักสุขภาพดอทคอม raksukkapap.com







Create your own banner at mybannermaker.com!








รักสุขภาพ : ข่าวสุขภาพ#บทความสุขภาพ#โรคน่ารู้#ลดความอ้วน#ลดน้ำหนัก#รักษาสิว#รักษาฝ้า#เบาหวาน#ความดัน#อาหารเสริม#ผิวขาว#กลูตาไธโอน#กาแฟลดน้ำหนัก#