อ่าน 2399 ครั้ง
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
content/127.jpg
 

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นทุกปี ในประเทศไทยการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ตามการพัฒนาของสังคมและเศรษฐกิจ ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแบบประเทศตะวันตก จากสถิติของประเทศไทยล่าสุดพบว่าอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นติดอันดับ 1 ใน 5 ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดทั้งในเพศชายเพศหญิง

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

1. อายุ พักพบในคนอายุมากกว่า 50 ปี

2. อาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไขมันสูง และอาหารที่มีกากใยน้อย

3. ประวัติเป็นโรคของลำไส้บางชนิด ได้แก่ ติ่งเนื้องอกที่ผนังลำไส้ โรคแผลอักเสบของลำไส้ใหญ่เรื้อรังนาน 8 – 10 ปีขึ้นไป หรือมากกว่าจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าคนทั่วไป 5 – 10 เท่า

4. ประวัติครอบครัว ที่มีญาติป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

5. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบุหรี่ มากและนาน

 

อาการและอาการแสดง

1. พฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปจากเดิม

2. มีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก หรือมีความรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่สุด

3. มีเลือดสด ๆ หรือเลือดดำปนออกมากับอุจจาระ

4. อุจจาระมีลักษณะผิดปกติไปจากเดิมเป็นก้อนเล็ก ๆ หรือเละ ๆ ไม่เป็นก้อน

5.มีอาการท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง

6. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

7. เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

8. คลื่นไส้อาเจียน

ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และหาสาเหตุของการเกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้

 

การค้นหาและคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

มีประโยชน์คือ ตรวจพบรอยโรคนำก่อนเป็นมะเร็ง และให้การรักษาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกที่อาจยังไม่แสดงอาการและให้การรักษาที่เหมาะสมเพื่อหวังผลการรักษาที่ดีที่สุด

 

1. การตรวจทางทวารหนัก โดยแพทย์จะใช้นิ้วมือหรือร่วมกับอุปกรณ์ตรวจทางทวารหนัก

 

2. การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ

 

3. การสวนแป้ง เอกซเรย์ลำไส้ เป็นการตรวจทางรังสีโดยการใช้สารทึบรังสี สวนเข้าทางทวารหนักจากนั้นจะมีการถ่ายเอกซเรย์ท่าต่าง ๆ วิธีนี้สามารถตรวจพบความผิดปกติของเยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่ได้ แต่ถ้าความผิดปกติมีขนาดเล็กมาก ๆ หรือมีอุจจาระบดบังอยู่ก็อาจตรวจไม่พบได้

 

4. การส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจโดยใช้กล้องชนิดพิเศษที่ติดอยู่กับปลายท่อนิ่มโค้งงอได้ ส่องเข้าไปทางทวารหนัก เป็นวิธีที่เห็นรายละเอียดของเยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่ได้ชัดเจนที่สุด และเมื่อพบความผิดปกติหรือติ่งเนื้อก็สามารถตัดชิ้นเนื้อก็สามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้

 

การรักษา

1. การผ่าตัด

2. เคมีบำบัด

3. รังสีรักษา

4. การรักษาร่วมกันหลายวิธี

 

การป้องกัน

1. ควรรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่และเน้นผักผลไม้ให้มากเนื่องจากมีเส้นใยอาหารสูง ช่วยในการขับถ่าย และควรลดอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง

2. ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับทวารหนักและลำไส้ใหญ่ เช่น ริดสีดวงทวาร แผลอักเสบเรื้อรัง เนื้องอก ควรได้รับการตรวจจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

3. ผู้ที่มีประวัติญาติพี่น้องสายตรง เช่น บิดา มารดา เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรตรวจหามะเร็งอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4. ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5. รีบปรึกษาแพทย์ถ้ามีความผิดปกติของระบบขับถ่าย

 

yes ขอบคุณที่มา: เอกสารเผยแพร่ความรู้ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง

ขอบคุณภาพประกอบจาก cancer-colon.fr/diagnostic-cancer-colon.html







Create your own banner at mybannermaker.com!








รักสุขภาพ : ข่าวสุขภาพ#บทความสุขภาพ#โรคน่ารู้#ลดความอ้วน#ลดน้ำหนัก#รักษาสิว#รักษาฝ้า#เบาหวาน#ความดัน#อาหารเสริม#ผิวขาว#กลูตาไธโอน#กาแฟลดน้ำหนัก#