อ่าน 2051 ครั้ง
มะเร็งปอด
content/122.jpg
 

มะเร็งปอด ป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งตับในประเทศไทยและมักจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเช่นกัน  

 

อาการที่บ่งบอกว่าอาจจะป่วยเป็นมะเร็งปอด ได้แก่ อาการไอเรื้อรังเป็นระยะเวลานานผิดปกติ เป็นอาการไอแห้ง ๆ หรือบางครั้งมีเสมหะและมีเลือดปะปนมากับเสมหะด้วย อาจมีเสียงแหบ มีอาการเหนื่อยหอบ หรือ ป่วยเป็นโรคปอดบวมหรือหลอดลมอักเสบบ่อย ๆ มีอาการไข้และเจ็บหน้าอกร่วมด้วย มีอาการบวมทั้งบริเวณใบหน้าและลำคอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารและผิวหนังซีดลง หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยด่วน

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งปอด ได้แก่

1. การสูบบุหรี่ หรือการได้รับควันบุหรี่มือสอง (รับควันบุหรี่จากผู้อื่น) เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากในควันบุหรี่มีสารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็งถึง 60 ชนิด การสูบบุหรี่จัดอย่างน้อยวันละ 20 มวน ติดต่อกันยาวนานประมาณยี่สิบปีขึ้นไปมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปอดสูงถึงร้อยละ 75 – 80 นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองเช่นผู้ที่ทำงานในแหล่งที่มีการอนุญาตให้สูบบุหรี่เป็นเวลานานก็มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นมะเร็งปอดเช่นกันแม้ว่าจะไม่ได้สูบบุหรี่

 

2. การสูดควันธูปเป็นประจำ เนื่องจากในควันธูปนั้นมีสารก่อมะเร็งที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอดด้วยกันสามชนิดคือ เบนซิน เบนโซเอไพริน และบิวทาไดอีน

 

3. การสูดดมก๊าซเรดอน (Radon) มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ทำงานในเหมืองที่ต้องสูดดมก๊าซเรดอนเป็นประจำ ก๊าซเรดอนนั้นไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เป็นก๊าซที่พบได้ในดินและก้อนหิน สามารถทำอันตรายต่อปอดและทำให้เกิดมะเร็งปอดได้

 

4. การสูดดมละอองเยื่อหิน (Asbestos) การผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมหลายประเภทมีการใช้เยื่อหินมาผลิตเช่น การทำฉนวนกันความร้อน โรงงานผลิตผ้าเบรก และโรงงานทอผ้า ซึ่งจะพบละอองเยื่อหินปะปนอยู่ในอากาศทำให้ผู้ที่อยู่ในโรงงานเหล่านี้สูดดมเข้าไปโดยไม่รู้ตัวและอาจทำให้เป็นมะเร็งปอดได้

 

5. การสูดดมควันพิษต่าง ๆ ทั้งควันจากท่อไอเสียรถบนท้องถนน ไอระเหยของน้ำมันเบนซิน ควันพิษจากโรงงานอุตสหกรรมล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดได้ทั้งสิ้นหากมีการสูดดมและสะสมเป็นเวลานาน

 

การตรวจรักษา

1 ในขั้นแรกผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองได้แก่การตรวจเอ็กซ์เรยปอด หรือ เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) ตรวจเสมหะ ตรวจชิ้นเนื้อจากหลอดลมหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม

 

2. เมื่อทราบชนิดของมะเร็งและระยะที่ลุกลามแล้ว แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้การรักษาอย่างไร ซึ่งการรักษาก็มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การใช้รังสีรักษา การให้ยาเคมี หรือ ทำเคมีบำบัด หรือรักษาร่วมกันมากกว่าหนึ่งวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เพศ และวัยของผู้ป่วยด้วย หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในระยะที่มีอาการหนักแล้วแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาแบบประคับประคองไว้ได้

 

การป้องกันมะเร็งปอด  

 สำหรับการป้องกันมะเร็งปอดนั้นทำได้โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้ที่สูบบุหรี่ หากสูบบุหรี่เองก็ควรเลิกสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง  รักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

 yes บทความโดย : รักสุขภาพดอทคอม Raksukkapap.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก freedigitalphotos.net โดย Theeradech Sanin

 







Create your own banner at mybannermaker.com!








รักสุขภาพ : ข่าวสุขภาพ#บทความสุขภาพ#โรคน่ารู้#ลดความอ้วน#ลดน้ำหนัก#รักษาสิว#รักษาฝ้า#เบาหวาน#ความดัน#อาหารเสริม#ผิวขาว#กลูตาไธโอน#กาแฟลดน้ำหนัก#