อ่าน 3710 ครั้ง
โรคความดันโลหิตสูง
content/118.jpg
 

     โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบันโดยเป็นภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิตสูงกว่าปกติเรื้อรังเป็นเวลานาน คือสูงกว่า 140 / 90 มิลิเมตรปรอท ซึ่งผู้ป่วยเองมักจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหัว มึนงง เวียนหัว ได้ยินเสียงดังในหู  ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย  มีอาการเวียนศีรษะ มีเลือดกำเดาออก  การเต้นของชีพจรจะผิดปกติ  หงุดหงิดง่าย  ขาบวม  เหนื่อยง่ายผิดปกติ2 บางทีอาจมีอาการแน่นหน้าอกและนอนไม่หลับ หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการดูแลรักษาอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากโรคอื่น ๆ ตามมาเช่น โรคหัวใจ  หลอดเลือดในสมองแตก หลอดเลือดในสมองตีบ ไตวาย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา อัมพฤกษ์ อัมพาตซึ่งเป็นผลมาจากหลอดเลือดในสมองแตกหรือตีบ และอื่น ๆ

 

     ความดันโลหิตโดยปกติจะมีสองค่า ตัวบนจะอยู่ในช่วง 120 – 130 และตัวล่างจะเท่ากับ 70 -80  ค่าของความดันโลหิตตัวบนหากสูงเกิน 140 จะถือว่าความดันโลหิตสูงกว่าปกติ แต่ถ้าหากความดันสูงเกิน 160 ถือว่าเข้าข่ายอันตรายเพราะอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตก ส่วนความดันโลหิตตัวล่างจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่โดยถ้าสูงเกินกว่า 90 เป็นเวลานานจะถือว่าเป็นความดันสูง

 

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง1

กรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก

กรณีที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัว ใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้

     จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจากหัวใจวายถึง 60-75 % , เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตัดหรือแตก 20-30 % และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 %

 

ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต

     มีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อความดันโลหิต เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ พันธุกรรม สภาพแวดล้อม แต่ปัจจัยที่มีผลมากในปัจจุบัน คือ สภาพจิตใจและอารมณ์ โดยเฉพาะในปัจจุบันพบว่าสถิติโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากความเครียดในชีวิตประจำวันของคนมีมากขึ้น2

 

การรักษา

     การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแพทย์จะควบคุมโดยการใช้ยาและตัองรับประทานยาไปตลอดชีวิต ส่วนโรคความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุแน่ชัดแพทย์จะรักษาไปตามอาการ เช่น ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เนื่องมาจากมีเนื้องอกในสมอง ทำให้ปวดศีรษะตามัวได้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนจะทำให้ความดันสูงได้ ถ้าได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ความดันในกะโหลกศีรษะไม่สูงแล้ว ความดันก็จะลงสู่ปกติ   โรคไต  ไตวายเรื้อรัง เราไม่สามารถรักษาได้ นอกจากผ่าตัดเปลี่ยนไต ความดันโลหิตสูงก็ลดลงได้ จากการรับประทานยาที่ทำให้เกิดความดันเลือดสูงได้เช่นกัน เช่น รับประทานยาแก้ปวดไขข้อ ยาคุมกำเนิดที่รับประทานมานานกว่า 2 ปี ยาลดน้ำมูกที่แรง ๆ ฯลฯ เป็นต้น 2

 

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

     หลีกเลี่ยงความเครียด เมื่อรู้ตัวว่าเครียดให้พยายามทำจิตใจให้สบาย หรือหากิจกรรมอื่น ๆ ทำเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย เช่น การฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือออกกำลังกายเบา ๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด งดดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานยาเป็นประจำสม่ำเสมอไม่ให้ขาดและหมั่นตรวจสอบความดันโลหิตของตนเองโดยไปพบแพทย์เป็นครั้งคราว

 

 yes เรียบเรียงโดยรักสุขภาพดอทคอม Raksukkapap.com

 

เอกสารอ้างอิง

1. เว็บไซต์สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

2. รองศาสตราจารย์นายแพทย์พีระ บูรณะกิจเจริญ. โรคความดันโลหิตสูง. ความรู้สู่ประชาชน.  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ขอบคุณภาพประกอบจาก freedigitalphotos.net โดย Stuart Miles







Create your own banner at mybannermaker.com!








รักสุขภาพ : ข่าวสุขภาพ#บทความสุขภาพ#โรคน่ารู้#ลดความอ้วน#ลดน้ำหนัก#รักษาสิว#รักษาฝ้า#เบาหวาน#ความดัน#อาหารเสริม#ผิวขาว#กลูตาไธโอน#กาแฟลดน้ำหนัก#